ประวัติความเป็นมา

 

ประวัติความเป็นมา

 
       ตำบล หนองระเวียงเป็นตำบลเก่าแก่ตำบลหนึ่ง ของอำเภอเมืองนครราชสีมา จากเดิมพื้นที่ตำบลเป็นพื้นที่ป่ารกร้างเส้นทางสัญจรไปมามีแต่รอยทางเกวียน และเป็นทางผ่านของกองทหารในสมัยก่อน มีการเล่าขานของชาวบ้านว่าเดิมตำบลหนองระเวียงมีพื้นที่เป็นที่กว้างราบลุ่ม แม่น้ำ มีห้วยหนองคลองบึงหลายแห่งในพื้นที่ พื้นดินมีความอุดมสมบรูณ์เนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้กับแหล่งน้ำ และ   แต่ละบึงนั้นจะมีต้นไม้ใหญ่ หลายชนิดแต่ที่มีมาก คือต้นระเวียงขึ้นบริเวณรอบๆบึงให้นกและสัตว์อื่นๆเข้ามาอาศัยอยู่  ต่อมามีการเกิดเป็นชุมชนในพื้นที่ซึ่งประชาชนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ จากเดิมนั้น ย้ายมาจากตำบลพะเนาและตำบลมะเริง และเริ่มมีลูกหลานเกิดการกระจายตัวของประชาชนมีการ จับจองที่ดินทำกิน เรียกง่ายๆว่าใครที่ขยันก็จะมีที่ทำกินมาก และมีการตั้งเป็นตำบลขึ้น จึงใช้ชื่อว่า "ตำบลหนองระเวียง"

 
การตั้งถิ่นฐานและวิวัฒนาการของ ตำบลหนองระเวียง

 
     อบ ต.หนองระเวียง เป็นตำบลใหญ่มีพื้นที่กว้างมีเนื้อที่ทั้งหมด 54.77 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 34,231.25 ไร่  แรกเริ่มนั้นชุมชนในตำบลเกิดขึ้นจาก การอพยพย้ายเข้ามาทำการอาศัยอยู่จากบุคคลตำบลใกล้เคียง คือตำบลพะเนา สังเกตจากการใช้นามสกุลของคนในพื้นที่ แรกเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานที่บ้านโตนดเนื่องจากบริเวณนั้นมีแหล่งน้ำ สาธารณะแล้วแบ่งแยก ออกเป็นหมู่บ้านต่างๆในพื้นที่ปัจจุบันมีจำนวน  15 หมู่บ้าน

 
             ตำบลหนองระเวียง เป็นตำบลหนึ่งใน 24 ตำบลของอำเภอเมืองนครราชสีมา  และได้  รับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทยแยกเขตการปกครองเป็น   ตำบลหนองระเวียง    มีผลเมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2541  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอครบุรี อำเภอสูงเนิน อำเภอห้วยแถลง อำเภอคง อำเภอด่านขุนทด อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา  ลงวันที่  28 กันยายน 2514  มี 15 หมู่บ้าน  และได้รับยกฐานะ จากสภาตำบลหนองระเวียง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียง เมื่อปี พ.ศ.2539


ความสำคัญของชุมชน


               ใน พื้นที่ ตำบลหนองระเวียง เรียกได้ว่าเป็นบริเวณชานเมือง ยังมีความเป็นชนบท เป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร ในปัจจุบันประชาชนในพื้นที่ ปลูกแตง ปลูกถั่วฝักยาวฯลฯ นำผลผลิตที่ ได้ไปขายในตัวเมืองคือ ตลาดกลางสุรนครทำให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอในการใช้จ่ายและแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งยังมีพื้นที่ที่ใช้ทำไร่ ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง ไร่อ้อย ฯลฯ ส่งผลผลิตไปในโรงงานเพื่อการ แปรรูปต่อไป ในพื้นที่ชุมชนมีพื้นที่เขตอุตสาหกรรมสุรนารี คลุมพื้นที่ 2  ตำบล ระหว่างตำบลหนองบัวศาลาและตำบลหนองระเวียง เป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ประชาชนไม่ต้องย้ายถิ่นฐานการทำงานเข้าไปในเมืองหลวงอย่างเช่นใน อดีตที่ผ่านมา เส้นทางคมนาคมขนส่งก็มีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของชุมชน และตำบลหนองระเวียงยังอยู่ห่างจากสนามบินพาณิชย์หนองเต็ง ประมาณ 30 กิโลเมตร บ้างมีการใช้เส้นทางเพื่อเป็นเส้นทางลัดไปสู่สนามบินได้ มีศูนย์ฝึกภาคสนามของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งเป็นพื้นที่ที่พร้อมสำหรับ การให้ความรู้ในด้านพันธุ์พืชต่างๆ
      ปัจจุบันการปกครองในท้องถิ่นจะเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมี หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล เป็นการสร้างงานให้เกิดกลุ่มอาชีพของตำบล ในตำบลหนองระเวียงก็มีสินค้าจากกลุ่มต่างๆ มากมาย เช่น กลุ่มแปรรูปน้ำพริก กลุ่มผลิตน้ำปลา  กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น