อำนาจหน้าที่

 

ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

     ภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียงตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537(แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ.2562) และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

      องค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียงได้ดำเนินการภารกิจในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนความต้องการความไม่มีความไม่รู้ของชุมชนโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 67 มาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ.2562)โดยการจัดทำเป็น แผนพัฒนาตำบล 5 ปีและแผนพัฒนาตำบลประจำปีให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและนโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแผนพัฒนาอำเภอแผนพัฒนาจังหวัดนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

       การดำเนินการตามภารกิจและตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียงกำหนดภารกิจไว้เป็น 7 ด้านซึ่งกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537(แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ.2562) และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 ดังนี้  

 

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

       (1) จัดให้มีการบำรุงรักษาทางน้ำ และทางบก (มาตรา 67(1))*

       (2) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร (มาตรา 68(1))*

       (3) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธอื่น (มาตรา 68(2))*

       (4) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา 68(3))*

       (5) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ (มาตรา16 (2))**

       (6) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา16(4))**

       (7) การสาธารณูปการ (มาตรา 16(5))**

       (8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

  2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

       (1) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา 67(1))*

       (2) การรักษาความสะอาดของถนนทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (มาตรา 67))*

       (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 67(3))*

       (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ(มาตรา6(4))*

       (5) การจัดการศึกษา (มาตรา16(9))**

       (6) การสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กสตรีคนชราและผู้ด้อยโอกาส(มาตรา16(10))**

       (7) จัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา 16(13)**

       (8) การส่งเสริมกีฬา (มาตรา 16(14))**

       (9) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย (มาตรา16(18))**

       (10) การสาธารณสุข การอนามัย ครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา16(19))**

       (11) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

   3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม การรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

       (1) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 67(1))*

       (2) การคุ้มครองดูแลรักษาทรัพย์สินและอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน(มาตรา 68(8))*

       (3) การผังเมือง (มาตรา 68(13)และมาตรา16(25))**

       (4) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 16(12))**

       (5) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา 16(17))**

       (6) การจัดเมืองให้มีและควบคุมสุสานและฌาปณสถาน (มาตรา 16(20))**

       (7) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (มาตรา 16(21))**

       (8) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา 16(22))**

       (9) การรักษาความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่นๆ (มาตรา 16(23))**

       (10) การดูแลรักษาที่สาธารณะ (มาตรา 16(26))**

       (11) การรักษาความสงบเรียบร้อยการส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันรักษาความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา 16(30))**

       (12) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

  4. ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

        (1) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว(มาตรา 68(6))*

       (2) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ (มาตรา 68(5))*

       (3) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา 68(7))*

       (4) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล (มาตรา68(9))*

       (5) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม (มาตรา 68(10))*

       (6) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ (มาตรา68(11))*

       (7) การท่องเที่ยว (มาตรา68(12))*

       (8) การจัดให้มีและการตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ (มาตรา 16(3))**

       (9) การขนส่งและวิศวกรรมจราจร (มาตรา 16(26))**

       (10) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

  5. ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

       (1) คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 67(7))*

       (2) การจัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 16(24))**

       (3) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

  6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

       (1) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา67(8))*

       (2) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (มาตรา 67(5))*

       (3) การส่งเสริมประชาธิปไตยความเสมอภาคสิทธิเสรีภาพของประชาชน(มาตรา16(15)**

       (4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 16(16)*2)

       (5) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

  7. ด้านบริหารการจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

       (1) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร (มาตรา 67(9)*

       (2) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 16(31))**

       (3) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ทางราชการมอบหมายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

   หมายเหตุ

 

        * หมายถึงพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ.2562)

       ** หมายถึงพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

       การดำเนินการตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียงให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัดแผนพัฒนาอำเภอแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างทั่วถึงก็จะสามารถแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลได้และที่สำคัญสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในตำบลและนโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งนี้หากสามารถดำเนินการได้อย่างครอบคลุมแล้วผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดก็คือประชาชนในพื้นที่